วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู้บทเรียน

1.นำรูปภาพของพืชผักที่นักเรียนสนใจมาให้นักเรียนดู
2.ให้นักเรียนวาดภาพพืชผักที่นักเรียนชอบและสนใจ

ขั้นที่ 2 ขั้นการสอน

ชั่วโมงที่ 1

1. ให้นักเรียนดูตัวอย่างชิ้นงานการปลูกพืชผักในภาชนะที่ทำเสร็จแล้ว 1 ตัวอย่าง

2. ครูขออาสาสมัครนักเรียนเล่าประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับขั้นตอนการปลูกพืชผักในภาชนะ

3. ครูอธิบายเชื่อมโยงกับการปลูกพืชผักในภาชนะที่ทำจากวัสดุเหลือใช้ในชีวิตประจำวัน แล้วให้นักเรียนช่วยกันสรุปขั้นตอนการปลูกพืชผักในภาชนะบนแผ่นกระดาษที่เตรียมไว้ให้

4. ให้นักเรียนศึกษาขั้นตอนการเตรียมดินปลูกพืชผัก จากหนังสือเรียน และศึกษาใบความรู้เรื่อง การปลูกพืชผักในภาชนะ

5. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปขั้นตอนการเตรียมดินปลูกพืชผักในภาชนะ ภาชนะที่ใช้ในการปลูก ครูอธิบายเหตุผลที่เชื่อมโยงให้นักเรียนเห็นถึงประโยชน์ของการใช้ภาชนะที่ทำจากวัสดุเหลือใช้ในชีวิตประจำวันมาปลูกไม้ประดับ ครูให้ข้อเสนอแนะและให้นักเรียนนำภาชนะที่ทำจากวัสดุเหลือใช้ในชีวิตประจำวันมาปฏิบัติงานในชั่วโมงต่อไป



ชั่วโมงที่ 2

1. ครูทบทวนขั้นตอนการเตรียมดินและการปลูกพืชผัก การเลือกใช้ภาชนะที่ทำจากวัสดุเหลือใช้ในชีวิตประจำวันในการปลูก

2. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ให้แต่ละกลุ่มเลือกหัวหน้ากลุ่มและรองหัวหน้ากลุ่มเพื่อประสานงานกลุ่ม จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทบทวนขั้นตอนการปลูกไม้ประดับในภาชนะที่ทำจากวัสดุเหลือใช้ในชีวิตประจำวัน แล้วจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ เตรียมดินปลูกโดยผสมวัสดุปลูก และเตรียมภาชนะที่ทำจากวัสดุเหลือใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับใช้ในการปลูกไม้ประดับ

3. ครูสาธิตและให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการฝึกปฏิบัติตามทีละขั้นตอนพร้อมกันทุกกลุ่ม

4. ครูและนักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง และอภิปรายสรุปคุณภาพชิ้นงานของนักเรียนแต่ละกลุ่มทีละขั้นตอน และบันทึกผลการปฏิบัติงานในแบบบันทึกการปลูกพืชผักในภาชนะ

5. เมื่อนักเรียนแต่ละกลุ่มทำผลงานเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นำมาส่งครู ครูคัดเลือกผลงานเป็นตัวอย่าง 2- 3 ชิ้นงาน แล้วให้เจ้าของผลงานออกมานำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน

ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป
นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายสรุปเกี่ยวกับพืชผักที่นักเรียนศึกษาเพื่อการอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

ขั้นที่ 4 ขั้นฝึกฝนนักเรียน
1. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4–5 คน ร่วมกันวางแผนเพื่อสำรวจพื้นที่ในชุมชนของตนเองว่ามีการทำการเกษตรแบบอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมรูปแบบใดแล้วบันทึก
2. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4–5 คน ร่วมกันอภิปรายเสนอแนวทางจัดการในการทำการเกษตรเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม


ขั้นที่ 5 ขั้นนำไปใช้
นักเรียนนำความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตหรือเผยแพร่ความรู้แก่เกษตรกรในชุมชนที่อาศัยอยู่